Easy E-Receipt 2568 (อีซี่ อี-รีซีท) หรือ Easy E-Receipt 2.0 อีกหนึ่งมาตรการลดหย่อนภาษี 2568 ที่มนุษย์เงินเดือนและคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่างรอคอย โดยรอบนี้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขบางอย่างที่แตกต่างจากโครงการ Easy E-Receipt 2567 เราลองมาทบทวนรายละเอียดของโครงการกันอีกสักที พร้อมตอบคำถามที่หลายคนสงสัยว่า Easy E-Receipt ซื้ออะไรได้ หรือซื้อสินค้าอะไรไม่ได้บ้าง
Easy E-Receipt 2568 เริ่มเมื่อไร
Easy E-Receipt 2568
ใครใช้สิทธิได้บ้าง
คนที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้คือคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2568 เพราะสามารถนำค่าซื้อสินค้าไปหักลดหย่อนภาษีที่จะยื่นภาษีต่อกรมสรรพากรในช่วงต้นปี 2569 ได้ โดยเฉพาะคนที่มีฐานภาษีสูง ๆ ก็เหมือนได้ส่วนลดจากการซื้อสินค้าเท่ากับฐานภาษีที่ตัวเองต้องจ่าย
สำหรับคนมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้ฯ หรือไม่มีรายได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิในโครงการนี้ เนื่องจากไม่ต้องนำค่าซื้อสินค้าไปหักลดหย่อนใด ๆ
Easy E-Receipt 2568
ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร
ใช้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ จะสามารถลดภาษีได้มาก-น้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับฐานภาษีของแต่ละคนด้วย ดังตัวอย่างตารางด้านล่างนี้
-
คนที่มีฐานภาษี 5% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 2,500 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 10% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 5,000 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 15% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 7,500 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 20% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 10,000 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 25% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 12,500 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 30% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 15,000 บาท
-
คนที่มีฐานภาษี 35% หากซื้อสินค้า 50,000 บาท จะได้เงินคืนสูงสุด 17,500 บาท
เงื่อนไข Easy E-Receipt 2568
Easy E-Receipt 2568 ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง
ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
-
ส่วนที่ 1 : จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทั่วไปที่ผู้ประกอบการจด VAT โดยต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน แต่หากผู้ขายสินค้าไม่ได้จดทะเบียน VAT จะต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน
-
ส่วนที่ 2 : หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ โดยต้องมี e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ทั้งนี้ วงเงินส่วนที่ 2 (สินค้า OTOP) สามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 50,000 บาท แต่วงเงินส่วนที่ 1 (ค่าใช้จ่ายทั่วไป) สามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 30,000 บาทเท่านั้น โดยวงเงินทั้งสองส่วนเมื่อรวมกันสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 50,000 บาท เช่น ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท
ซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ไม่ได้จด VAT ได้ไหม
กรณีซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้จด VAT ต้องเป็นสินค้าหรือบริการดังต่อไปนี้
-
ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
-
ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
-
ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
-
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
-
ค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
Easy E-Receipt 2568
ซื้อสินค้าอะไรไม่ได้
สินค้าที่ไม่สามารถใช้สิทธิในมาตรการ Easy E-Receipt ได้แก่
-
สุรา เบียร์ ไวน์
-
ยาสูบ
-
รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ
-
ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ ค่าบริการประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
-
ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
-
ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งซื้อสินค้าหรือบริการก่อนวันที่ 16 มกราคม 2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น การสมัครสมาชิกรายปี เป็นต้น
-
ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
-
ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
-
ค่าที่พักโรงแรม
-
ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
-
ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
ใช้หลักฐานอะไรลดหย่อนภาษี
-
กรณีร้านค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม : ใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อสินค้าด้วย
- กรณีร้านค้าไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม : เช่น ร้านหนังสือ ร้าน OTOP ให้ใช้ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ e-Receipt โดยต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อสินค้าด้วย
รวมข้อสงสัย Easy E-Receipt
-
ทองคำแท่งไม่ต้องเสียภาษี VAT อยู่แล้ว จึงไม่สามารถใช้หักลดหย่อนภาษีได้
-
ทองรูปพรรณ นำมาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่ากำเหน็จ เนื่องจากตัวทองคำไม่ต้องเสียภาษี
สามารถใช้สิทธิได้ถ้าซื้อกับร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
-
นมจืด : เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้น VAT ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
-
นมประเภทอื่น ๆ ที่มีการแปรรูปมาแล้ว : เช่น นมเปรี้ยว นมกล้วย นมช็อกโกแลต นมสตรอว์เบอร์รี นมถั่วเหลือง นมปราศจากแล็กโทส เป็นสินค้าที่ต้องเสีย VAT จึงใช้ลดหย่อนภาษีได้
ยาและอาหารเสริม มีทั้งกรณีที่เสีย VAT และได้รับการยกเว้น VAT จึงต้องตรวจสอบให้ดี ถ้าเป็นสินค้าที่เสีย VAT สามารถใช้สิทธิได้
บทความที่เกี่ยวข้องกับลดหย่อนภาษี
- Easy E-Receipt 2568 ร้านไหนออก e-Tax Invoice ลดหย่อนภาษีได้บ้าง สรุปไว้ที่นี่ !
- Easy E-Receipt ร้าน OTOP ที่เข้าร่วม e-Tax มีที่ไหนบ้าง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท
- ใบกำกับภาษี Easy E-Receipt หาย จะยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2567 ได้ไหม
- ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice คืออะไร ต้องซื้อร้านไหนถึงใช้สิทธิ Easy E-Receipt ได้
- e-Tax Invoice ร้านไหนออกใบกำกับภาษีได้บ้าง เช็กก่อนช้อปลดหย่อนภาษี
- ลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง อัปเดตวิธีประหยัดภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา